บล็อกเกอร์ คืออะไรนะ?
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 2 คำ บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog) โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) ซึ่งรวมกันหมายถึง “ปูมเว็บ” หรือ บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง หรือ ถ้าจะขยายความมากไปกว่านั้น Blog ก็จะหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่ด้านบนสุด ส่วนเรื่องเก่าก็จะอยู่ด้านล่างสุด ซึ่งจะมีวันที่-เวลาเขียนกำกับไว้ เป็นที่นิยมกันในหมู่มาก
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนในครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออกมา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัวเอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก
ประโยชน์ของ web blog
Blog มีไว้เพื่อตอบสนองตัณหาของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บาง blog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดังนี้
1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลาย
คนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
คนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น www.terrystrek.com
7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว - สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง
cr.รูปภาพhttps://thebloggingbuddha.com/wordpress-vs-blogger-whats-difference/
cr.รูปภาพhttp://thestudentblogger.co.uk/
cr.รูปภาพhttp://thestudentblogger.co.uk/
ทำไม blog ถึงมีค่าแก่การพูดถึง?
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว
การเขียน blog ฟังดูธรรมดามากเลยใช่มั้ยครับ
แต่ตอนนี้มันกลายเป็นสิ่งที่ฮิต และอินเทรนด์ที่สุดบนอินเทอร์เน็ตไปแล้ว
ผมลองมานั่งนึกสาเหตุที่ทำให้ใครๆ ก็ติด blog มาได้หลายประการดังนี้
1. เขียน blog เหมือนกับเล่นเว็บบอร์ด
กฎข้อแรกของการสร้างเวบไซต์ให้ติดตลาด คือ
ต้องทำให้ผู้ชมกลับมาเยี่ยมเวบของเราอีกให้ได้ และวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือ สร้างชุมชนของผู้ชม
(Community) ให้เกิดขึ้นบนเวบของเรา เพราะเหตุนี้จึงทำให้เวบที่เน้นการสนทนาผ่านเวบบอร์ดอย่าง Pantip.com กลายเป็นเวบไซต์อันดับหนึ่งของเมืองไทยมาหลายปี blog เป็นการแสดงความคิดเห็นของเราให้คนอื่นอ่านวิธีหนึ่ง เพียงแต่เป็นเวบบอร์ดส่วนตัวที่คนเขียนคือเจ้าของ blog เท่านั้น (ผู้ชมสามารถแสดงความเห็นได้เป็น comment)
2. เขียน blog ไม่ต้องระวังเท่าเวบบอร์ด
จุดอ่อนของเวบบอร์ดคือคนเยอะ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกัน
ก็จะทะเลาะกันใหญ่โต Pantip.com เจอปัญหานี้มากจนต้องตั้งระบบสมาชิกที่เข้มงวด
ทำให้ลำบากในการสมัคร blog เข้ามาทดแทนในจุดนี้ได้พอดี
เราสามารถเขียนอะไรลงใน blog ของเราก็ได้โดยไม่ต้องกลัวใครว่า ไม่ต้องกลัวข้อมูลมั่ว
(เพราะว่าเป็น blog ของเรานี่นา) ทำให้หลายๆ
คนเกิดความสบายใจในการเขียน blog มากกว่าเวบบอร์ดที่มีคนมาคอยเถียงหรือจับผิด
3. blog มีเนื้อหาต่อเนื่อง
คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันก็มักจะเข้าเวบบอร์ดเฉพาะเรื่อง แต่ปัญหาอีกอย่างของเวบบอร์ดคือ
กระทู้ตกเร็ว และแต่ละกระทู้ไม่ต่อเนื่องกัน เพราะต่างคนต่างโพส
แต่ blog นั้นเป็นของเจ้าของคนเดียว เขียนคนเดียว สามารถควบคุมความต่อเนื่องของเนื้อหาได้สะดวกกว่า
ยิ่งเจ้าของ blog นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราสนใจพอดี
นี่จะสนุกมากเลยครับ ได้อ่านอะไรๆ ที่วงในเค้ารู้กันได้จาก blog นี่ล่ะ
4. มันก็เหมือนแอบอ่านไอดารี่คนอื่น
การแอบอ่านไดอารี่เป็นอะไรที่ไม่ดีแต่สนุกมาก blog นั้นกลับกัน เป็นไดอารี่ที่อยากให้คนอื่นอ่าน
ดังนั้นเจ้าของ blog จะประดิษฐ์ ประดอยหาเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนให้อ่าน
ทำให้เรื่องใน blog นั้นก็น่าสนใจมากขึ้น
:ความรู้เรื่องบล็อค
from usthapong
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น